คอร์สเรียนออนไลน์

ข่าว และ บทความ


“ซื้อประกันลดหย่อนภาษี แบบสั้นหรือยาวดี?”

11 เมษายน 2565 Admin01 SPIDER 0 บทความ

“ซื้อประกันลดหย่อนภาษี แบบสั้นหรือยาวดี?”

เวียนมาถึงอีกครั้งแล้วครับ “เทศกาลลดหย่อนภาษี”

หนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่ใช้ลดหย่อนภาษีที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด คงจะหนีไม่พ้น “เบี้ยประกันชีวิต” และยังเป็นสิ่งแรกๆที่ใครๆที่จะต้องเสียภาษีนึกถึง

📌 มาทบทวนสิทธิ์กันสักหน่อยนะครับว่าในปัจจุบันเราสามารถใช้สิทธิ์ได้สูงสุดเท่าไหร่กันบ้าง

👉 เบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพและแบบสะสมทรัพย์

ใช้ลดหย่อนได้เต็มจำนวนเบี้ยประกัน สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

👉 เบี้ยประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-linked)

ใช้ลดหย่อนได้เฉพาะค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามเงื่อนไขของแต่ละแบบ จำนวนเงินที่นำไปลงทุนไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้

👉 เบี้ยประกันแบบบำนาญ

ใช้ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท หากไม่มีเบี้ยประกันชีวิตเลยก็สามารถใช้ในสิทธิ์ลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต 100,000 บาทได้

👉 เบี้ยประกันสุขภาพ

ตั้งแต่ปี 2563 เราสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพได้สูงสุด 25,000 บาท และไม่เกินเมื่อรวมกับส่วนของเบี้ยประกันชีวิต แต่ไม่ใช่กับเบี้ยปะกันสุขภาพทุกรายการ ลดหย่อนในส่วนไหนได้บ้างอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/243998025794552/posts/760079614186388/

📌 แล้วจะเลือกแบบประกันที่สั้นหรือยาวดี? ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการทำงานและความมั่นใจในสุขภาพของแต่ละคน

👉 ระยะเวลาที่ยังคงทำงานต่อ

ระยะเวลาของการชำระเบี้ยประกันควรสอดคล้องกับระยะเวลาที่ยังคงต้องทำงานต่อ เพราะเมื่อยังมีรายได้ก็อาจยังต้องใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี ทำครั้งเดียวสามารถใช้ได้ยาวๆ

👉 สุขภาพในอนาคต

การซื้อประกัน นอกจากต้องใช้เงินในการชำระเบี้ยแล้ว ยังต้องมีสุขภาพที่บริษัทประกันสามารถยอมรับได้ หากมั่นใจมากๆว่าต่อไปจะยังคงมีสุขภาพที่ดี ผลตรวจสุขภาพต่างๆจะยังปกติ ก็สามารถเลือกแบบที่ระยะเวลาชำระเบี้ยสั้นๆได้ แต่ถ้าไม่มั่นใจก็ควรเลือกแบบที่ระยะเวลาชำระเบี้ยใกล้เคียงกับจำนวนปีที่ยังคงจะมีรายได้ต่อไป เพราะหากเลือกแบบที่ชำระเบี้ยสั้นๆ พอถึงเวลาที่ชำระเบี้ยครบแล้วก็ต้องซื้อประกันฉบับใหม่ หากสุขภาพเปลี่ยนไปไม่ปกติเหมือนเดิมก็อาจไม่สามารถซื้อประกันได้อีกต่อไป

ขอให้ทุกท่านมีความสุขและได้ประโยชน์ในการบริหารภาษีกันนะครับ

พัชภัคกร สุรรัตน์, FChFP

Financial Advisor

Fanpage : Financial สบาย สบาย

Financial สบาย สบาย

#Fanancialสบายสบาย

ที่เกี่ยวข้อง ข่าว

ยังไม่มีความคิดเห็น คุณเป็นคนแรกที่แสดงความเห็น