คอร์สเรียนออนไลน์

ข่าว และ บทความ


“เก็บเงินที่ไหน ไร้ภาษี”

11 เมษายน 2565 Admin01 SPIDER 0 บทความ

“เก็บเงินที่ไหน ไร้ภาษี”

จากการที่กรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 344) ทำให้พวกเราบางคนตีความไปเองว่าสรรพากรจะเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ตั้งแต่บาทแรกแล้ว

แต่ความจริง...นี่เป็นเพียงการที่สรรพากรต้องการให้เราแสดงความยินยอมให้ธนาคารสามารถส่งข้อมูลของเราให้เขาแค่นั้นเอง ใครที่ได้รับดอกเบี้ยรวมจากทุกบัญชีของทุกธนาคารไม่เกิน 20,000 บาท/ปี อยู่แล้ว ยังไงก็ไม่เสียภาษีในส่วนนี้ ถ้าแสดงความยินยอมกับธนาคารก็ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ถ้าไม่ยินยอมก็ถูกหัก ณ ที่จ่าย 15% แต่ก็สามารถขอคืนเมื่อยื่นภาษีปลายปีได้เหมือนเดิม

📌มาดูกันดีกว่าครับว่าเก็บเงินแบบไหนเสียหรือไม่เสียภาษี

👉 บัญชีเผื่อเรียกธนาคารออมสิน สลากออมสิน บัญชีออมทรัพย์ในสหกรณ์ออมทรัพย์ บัญชีออมทรัพย์ ธกส. : ไม่เสียภาษี

👉 บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ในธนาคารพาณิชย์

- ดอกเบี้ยรวมทุกบัญชีในทุกธนาคารไม่เกิน 20,000 บาท/ปี : ไม่เสียภาษี

- ดอกเบี้ยรวมทุกบัญชีในทุกธนาคารเกิน 20,000 บาท/ปี : เสียภาษี 15% ตั้งแต่บาทแรก

👉 บัญชีเงินฝากประจำในธนาคารพาณิชย์ ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปแบบมีเงื่อนไขผูกพัน : ไม่เสียภาษี

👉 เงินฝากประจําตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปของธนาคารพาณิชย์ ผู้ฝากอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป เมื่อรวมกับดอกเบี้ยเงินฝากประจําทุกประเภทไม่เกิน 30,000 บาท/ปี : ไม่เสียภาษี

👉 กองทุนรวม

- กำไรจากผลต่างของราคาหน่วยลงทุน : ไม่เสียภาษี

- เงินปันผล : หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% รวมยื่นกับภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้

- กรณีที่มีการลงทุนในตราสารหนี้จะถูกเก็บภาษี 15% ผ่านกองทุน

👉 ตราสารหนี้

- ดอกเบี้ย และ กำไรจากการขาย: หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% รวมยื่นกับภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้

- ผลต่างของราคาไถ่ถอนกับราคาขาย : ผู้ถือคนแรกถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% รวมยื่นกับภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้

👉 หุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

- กำไรจากผลต่างของราคา : ไม่เสียภาษี

- เงินปันผล : หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% รวมยื่นกับภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้

👉 LTF และ RMF

- กำไรจากผลต่างของราคาหน่วยลงทุน (กรณีไม่ผิดเงื่อนไข) : ไม่เสียภาษี

- เงินปันผลของ LTF : หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% รวมยื่นกับภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้

👉 ประกันชีวิต และ Unit-linked : ไม่เสียภาษี

พัชภัคกร สุรรัตน์ : Financial Advisor

Facebook : Financial สบาย สบาย

ที่เกี่ยวข้อง ข่าว

ยังไม่มีความคิดเห็น คุณเป็นคนแรกที่แสดงความเห็น