เป็นผู้จัดการมรดกใน 7 วันหลังการเสียชีวิต เป็นไปได้หรือไม่?
เป็นผู้จัดการมรดกใน 7 วันหลังการเสียชีวิต เป็นไปได้หรือไม่?
เมื่อเกิดการเสียชีวิตของใครบางคน สิ่งที่เหลืออยู่ก็คือมรดก การจัดการสิ่งเหล่านี้ก็ต้องมี “ผู้จัดการมรดก”
แต่การตั้งผู้จัดการมรดกจะใช้เวลาแค่ไหน มาดูการเตรียมเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องรวมถึงขั้นตอนกันครับ
คุณสมบัติผู้จัดการมรดก
1. เป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีบริบูรณ์)
2. ไม่เป็นคนวิกลจริต
3. ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
4. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
1. เอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับผู้ตาย เช่น สูติบัตร ทะเบียนสมรส ทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น
2. สำเนาใบมรณบัตร หรือหนังสือรับรองการตาย
3. สำเนาทะเบียนบ้าน ที่มีตราประทับว่า “ตาย”
4. สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ร้องและทายาททุกคน
5. สูติบัตรของทายาทที่เป็นผู้เยาว์
6. ทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่าของผู้ตาย
7. เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดก เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองกรรมสิทธิ์ห้องชุด บัญชีเงินฝากธนาคาร ทะเบียนรถยนต์ ฯลฯ
8. บัญชีเครือญาติ
9. หนังสือยินยอมให้เป็นผู้จัดการมรดกจากทายาท
10. พินัยกรรมของผู้ตาย (ถ้ามี)
11. หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
ค่าธรรมเนียม
1. ค่าธรรมเนียมศาล 200 บาท
2. ค่าประกาศลงหนังสือพิมพ์ 500 บาท
3. ค่าปิดประกาศแจ้ง ณ ภูมิลำเนาผู้ตายหรือที่ว่าการอำเภอ ตามอัตรานำหมายของศาล 300 - 700 บาท
ระยะเวลาในการดำเนินการ
1. ยื่นคำร้องต่อศาล
2. ศาลนัดเพื่อทำการนัดไต่สวนคำร้อง ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน
3. หลังจากการไต่สวนประมาณ 1 เดือน ผู้ร้องขอคัดสำเนาคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก เพื่อใช้ดำเนินการจัดการทรัพย์มรดก
สรุป การประกาศว่าตัวเองเป็นผู้จัดการมรดกภายใน 7 วันหลังการเสียชีวิต เป็นไปไม่ได้ครับ
พัชภัคกร สุรรัตน์ FChFP, ChLP
Financial Advisor
Financial สบาย สบาย
#วางแผนการเงิน #FinancialPlanning
#นักวางแผนการเงิน #ที่ปรึกษาการเงิน
ยังไม่มีความคิดเห็น คุณเป็นคนแรกที่แสดงความเห็น