คอร์สเรียนออนไลน์

ข่าว และ บทความ


เศรษฐกิจแย่จัง ยอมขายขาดทุนยังสบายใจกว่า

Admin01 SPIDER 0 บทความ

เศรษฐกิจแย่จัง ยอมขายขาดทุนยังสบายใจกว่า

“ช่วงนี้ปรับพอร์ตมาไว้ในตราสารหนี้ทั้งหมดก่อนดีไหม?” นี่คือคำถามยอดฮิตที่ผมถูกถามบ่อยมากในช่วงนี้ ทั้งทาง Line, Facebook บางคนใจร้อนก็โทรมาเลย

ก่อนตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร เสียเวลาอ่านบทความนี้สักนิดนะครับ

📉 1996-1998 วิกฤตต้มยำกุ้ง : ด้วยภาวะฟองสบู่ที่เกิดจากประเทศไทย และส่งผลกระทบลุกลามไปหลายประเทศ SET Index หล่นรูดจาก 1,400 มาอยู่ที่ 200 จุด

📉 2008 Hamburger Crisis : จากวิกฤตซัพไพรม์ในสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้สถาบันการเงินระดับโลกบางแห่งได้รับผลกระทบอย่างหนัก และปัญหาขยายตัวไปทั่วโลก SET Index ดิ่งจาก 800 ลงมาแตะ 300 กว่าจุด

📉 2011 อุทกภัยใหญ่ : ชาวไทยคงจำเหตุการณ์นี้ได้ดี เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในหลายจังหวัดไม่เว้นแม้กระทั่งสนามบินดอนเมือง SET Index จากเกือบ 1,200 ลดลงมาอยู่ที่ 900 จุด

📉 2014 เหตุการณ์ชุมนุม นปช และ กปปส : จากความขัดแย้งทางการเมืองและลุกลามจนเกิดการใช้ความรุนแรง ทำให้ SET Index ในช่วงนั้นร่วงจาก 1,630 ลงมาเหลือ 1,230 จุด

📉 2015-ปัจจุบัน เกิดผลกระทบต่อภาวะตลาดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น Brexit, Trade War, วิกฤตเศรษฐกิจในหลายประเทศ จนมาถึงการระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบัน ส่งผลให้ SET Index ผันผวนอย่างแรง จาก 1,600 ตกลงมาอยู่เหนือ 1,200 จากนั้นพุ่งขึ้นไปถึง 1,800 ย่อตัวลงมาที่ 1,500 และดีดกลับไปที่ 1,700 จนมาอยู่ที่ 1,360 ในปัจจุบัน

📌 เราเห็นอะไรบ้างจากเหตุการณ์เหล่านี้?

👉 วิกฤตหลายครั้งในอดีตหนักกว่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากมาย

👉 ทุกครั้งที่ตลาดตกลงก็จะมีจังหวะขึ้นทุกครั้งเช่นกัน

📌 หลายคนที่ขาดความเข้าใจและประสบการณ์ไม่มากพอจัดการการลงทุนของตัวเองอย่างไร?

👉 ซื้อในจังหวะที่ตลาดกำลังคึกคัก ได้ยินว่าตัวไหนดีราคากำลังขึ้นก็ซื้อตามกันไป นั่นเท่ากับว่าได้ซื้อตอนที่ราคาขึ้นมาสูงแล้ว

👉 ขายเพราะความกลัวเมื่อตลาดย่อตัว จึงตัดสินใจยอมขายแม้จะขาดทุน และเมื่อตลาดฟื้นตัวกลับขึ้นมาก็มานึกเสียดายที่ขายไปก่อนหน้านี้แล้ว

📌 การลงทุนที่ดีควรจะต้อง

👉 เข้าใจตลาด : มองให้ออกว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาดในแต่ละช่วงคืออะไร รุนแรงแค่ไหน และจะใช้เวลานานเท่าไหร่

👉 เข้าใจกระเป๋าเงิน : เงินที่มีค่าใช้จ่ายรออยู่แล้วควรเก็บไว้ในพอร์ตที่ความเสี่ยงต่ำ เงินที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในระยะสั้นสามารถใช้ความเสี่ยงสูงขึ้นได้ บางจังหวะที่ราคาย่อตัวลงก็สามารถทนรอต่อไปได้

👉 เข้าใจตัวเอง : ความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ของเราเองมีเพียงพอหรือไม่ ถ้ายังมีน้อยก็ควรศึกษาเพิ่มเติมและเริ่มลงทุนด้วยเงินจำนวนไม่มากก่อน และเราสามารถรับความเสี่ยงอดทนนั่งดูราคาแกว่ง ขึ้น-ลง ได้มากแค่ไหน ถ้ามีน้อยก็ควรลงทุนในพอร์ตที่ความเสี่ยงต่ำลงมา

ลองนั่งนิ่งๆแล้วพิจารณาดูนะครับ หลายคนขาดทุนจากการ ซื้อแพง-ขายถูก จนเข็ดขยาด เลยกองเงินส่วนใหญ่ไว้ในบัญชีเงินฝากทั้งๆที่ก็ทราบว่าเงินโตไม่ทันเงินเฟ้อ แต่ก็ยอมทนไป

ถ้าเรา เข้าใจตลาด เข้าใจกระเป๋าเงิน และเข้าใจตัวเอง เราจะสนุกสนานและเพลิดเพลินกับการลงทุน ไม่ว่าภาวะตลาดจะเป็นอย่างไรก็ตาม

พัชภัคกร สุรรัตน์ FChFP : Financial Advisor

Facebook : Financial สบาย สบาย

Blockdit : www.blockdit.com/financial.sabai

#Financialสบายสบาย

ที่เกี่ยวข้อง ข่าว

ยังไม่มีความคิดเห็น คุณเป็นคนแรกที่แสดงความเห็น