คอร์สเรียนออนไลน์

ข่าว และ บทความ


“COVID-19” กับ “Emergency Cash”

11 เมษายน 2565 Admin01 SPIDER 0 บทความ

“COVID-19” กับ “Emergency Cash”

ในสถานการณ์ที่เชื้อ COVID-19 กำลังแพร่ระบาดเป็นวงกว้างในปัจจุบัน

ทำให้มีผลกระทบกับ 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ “งาน & เงิน”

แทบจะทุกอาชีพ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19

- บางอาชีพไม่สามารถหารายได้ได้เลย

- บางอาชีพยังทำงานได้ แต่รายได้ลดลงมาก

- บางอาชีพต้องยอมสละอาชีพปัจจุบัน แล้วรอหลังสถานการณ์ดีขึ้น ค่อยหางานใหม่ทำ

แม้จะมีมาตรการต่างๆ จากทางภาครัฐออกมาเพื่อช่วยเหลือประชาชน เช่น

- การประปานครหลวง : ลดค่าน้ำและคืนเงินประกันมิเตอร์ พร้อมให้โรงแรมผ่อนชำระค่าน้ำ 6 เดือน

- การไฟฟ้านครหลวง : คืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า สำหรับบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก

- สรรพากร : จัดมาตรการภาษีชุดใหญ่ ทั้งเลื่อนชำระภาษีและยื่นแบบบุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) จาก 31 มี.ค. 63 เป็น 31 ส.ค. 63 และเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีในหมวดของประกันสุขภาพ จากเดิม 15,000 บาท เป็น 25,000 บาท (เมื่อรวมกับการลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท)

- รัฐบาล : จ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท/คน/เดือน เป็นเวลา 3 เดือน

- สำนักงานประกันสังคม : ลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน , ขยายเวลาส่งเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33,39 , เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัย

และธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีมาตรการที่เกี่ยวกับการพักชำระหนี้ของสินเชื่อรถยนต์ , พักชำระเงินต้นของสินเชื่อบ้าน , พักชำระเงินต้นของสินเชื่อส่วนบุคคล ฯลฯ

*สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรการต่างๆได้ตามเวปไซต์ของส่วนงานนั้นๆ ครับ

แต่มาตรการต่างๆ ก็ช่วยได้ระดับหนึ่งเท่านั้น

ที่สำคัญคือ เมื่อคุณขาดรายได้ แต่รายจ่ายยังดำเนินอยู่ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าผ่อนสินค้าต่างๆ(หนี้สินบางอย่างพักชำระได้แค่เงินต้น) ทำให้คนหันมามองถึง”เงินสำรองฉุกเฉิน” หรือ “Emergency Cash” กันมากขึ้น

”เงินสำรองฉุกเฉิน” หรือ “Emergency Cash” นั้นเปรียบเสมือนกระปุกออมสินยามเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ตกงาน หรือวิกฤติ COVID-19 เช่นปัจจุบัน ทำให้ขาดรายได้ไป แต่รายจ่ายยังเดินต่อไปไม่หยุด การสำรองเงินสดไว้จึงเป็นเรื่องสำคัญลำดับแรกในกระบวนการวางแผนการเงิน

ตามอัตราส่วนทางการเงินส่วนบุคคล (Personal Financial Ratios) เรื่องเงินสำรองฉุกเฉิน(Basic Liquidity Ratio) นั้น

สามารถบอกได้ว่าเรามีเงินสำรองมากเพียงพอที่จะรับมือกับวิกฤติต่างๆได้หรือไม่ ในอัตราส่วนได้กำหนดค่ามาตรฐาน(Benchmark) เอาไว้ที่ 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน

เช่น เรามีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 20,000 บาท เราก็ควรจะมีเงินสำรองกันเอาไว้เผื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน 60,000-120,000 บาท (ขึ้นอยู่กับความมั่นคงของหน้าที่การงานของเราเอง)

ถ้าเรามีเงินสำรองฉุกเฉินเอาไว้เพียงพอแล้ว เมื่อเกิดสถานการณ์ที่จะทำให้เราขาดรายได้ ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อเรามากนักนั่นเอง

สถานการณ์แบบนี้ คงมีหลายๆ ท่านประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องกันพอสมควร

ผมขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ ท่านผ่านสถานการณ์ที่เลวร้ายอันเนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 นี้ไปด้วยกันนะครับ

พอสถานการณ์ดีขึ้น สามารถกลับมาประกอบอาชีพและหารายได้ได้เหมือนเดิมแล้ว อย่าลืมวางแผน ”เงินสำรองฉุกเฉิน” หรือ “Emergency Cash” กันด้วยนะครับ 😊

“เพียงแค่คุณเจอผม โลกการเงินของคุณจะเปลี่ยนไป”

#ExpertFinancialbyBom

#FinancialPlanner

#FChFP

#ChLP

#AFPT

ที่เกี่ยวข้อง ข่าว

ยังไม่มีความคิดเห็น คุณเป็นคนแรกที่แสดงความเห็น