งบการเงิน Who are you??
งบการเงิน Who are you??
สวัสดีครับ ชาว SPIDER
วันนี้เรามาคุยเรื่อง “งบการเงิน” และประโยชน์ของการทำงบการเงินกัน งบการเงินที่เราพูดถึงเป็นงบการเงินส่วนบุคคลนะครับ ไม่ใช่งบการเงินของธุรกิจหรือนิติบุคคล ซึ่งโครงสร้างก็จะแตกต่างกันนิดหน่อย งบการเงินของนิติบุคคลจะประกอบด้วยงบถึง 5 งบด้วย ได้แก่
1. งบดุล : แสดงถึงสถานะทางการเงินขององค์กร ประกอบด้วย ทรัพย์สิน หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ
2. งบกำไรขาดทุน : แสดงถึงกำไร(ขาดทุน) ขององค์กร รายรับรายจ่ายประเภทต่างๆ และกำไรสุทธิ
3. งบกระแสเงินสด : แสดงถึงกระแสเงินสดหมุนเวียนภายในองค์กร
4. งบหมายเหตุประกอบงบการเงิน : ตามชื่อเลยครับ
5. งบผู้สอบบัญชี : แสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีครับ
เราจะเห็นว่า บริษัทหรือองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการทำบัญชีประจำเดือน ประจำไตรมาส และประจำปี รวมถึงการส่งงบการเงินให้กับหน่วยงานภาครัฐต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการแสดงข้อมูลต่อสาธารณะชน งบการเงินจะช่วยให้บริษัทเข้าใจสถานะทางการเงินของตนเอง และสะท้อนถึงความสามารถขององค์กร และมีผลกับการวางแผนธุรกิจอย่างยิ่งยวด
เรากลับเข้าเรื่องของเรากันต่อนะครับ
งบการเงินบุคคลธรรมดาจะง่ายกว่าข้างต้น เพราะมีงบเบื้องต้นที่ต้องทำเพียง 2 งบ คือ
1. งบดุลส่วนบุคคล : แสดงถึงสถานะทางการเงิน ประกอบด้วยข้อมูลใหญ่ ทรัพย์สิน หนี้สิน และความมั่งคั่งสุทธิ (ทรัพย์สิน – หนี้สิน = ทรัพย์ที่ปลอดภาระหนี้สินแล้ว)
2. งบกระแสเงินสด : แสดงถึง รายได้รายจ่ายประเภทต่างๆ และเงินคงเหลือ (รายได้ - รายจ่าย) เพื่อสะท้อนการบริหารรายได้ รายจ่าย รายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย รายรับมีเหลือไหม มากหรือน้อย
เราจำเป็นต้องทำงบการเงินบุคคลธรรมดาก่อนหรือไม่?
ตอบครับ... ในการวางแผนการเงินชั้นสูง (สมบูรณ์) ผู้ให้คำปรึกษาจำเป็นต้องทราบงบการเงิน หรือสถานการณ์ในปัจจุบันของท่านก่อน เพราะเราจะไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือแนะนำ Solution ที่จะไปถึงเป้าหมายให้ถูกต้องได้เลยถ้าไม่รู้ข้อมูลปัจจุบัน เสมือนว่าคุณไม่รู้ว่าตอนนี้ผมอยู่จังหวัดไหน แต่ผมขอคำแนะนำว่าผมจะไปอยุธยา ผมต้องไปทางไหน จะให้วิ่งขึ้นทางเหนือหรือลงใต้ดี ไปทางตะวันออกหรือตะวันตกดี
ดังนั้น ข้อมูลที่เราต้องเตรียมเพื่อการวางแผนการเงิน ก็ไม่เยอะมากมายครับ ประกอบด้วย
1. รายรับต่างๆ ซึ่งเป็นข้อมูลรวมเป็นรายปี
2. รายจ่ายต่างๆ ข้อมูลรวมเป็นรายปีเช่นกัน และขอให้ท่านแบ่งแยกย่อยประเภทเป็น
2.1 รายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่าย เรียกว่า “รายจ่ายประจำ”
2.2 รายจ่ายที่เมื่อเราลำบากต้องการประหยัด เราสามารถตัดค่าใช้จ่ายประเภทนี้ออกได้ เรียกว่า “รายจ่ายผันแปร”
3. สินทรัพย์มีค่าของท่าน ซึ่งเอาง่ายๆต้องแปลงเป็นสถานะของยอดเงินในวันกรอกข้อมูลได้เลยครับ เช่นทรัพย์สินเรามีบ้าน 1 หลัง ทองคำ 10 บาท รถ 1 คัน กรอกข้อมูลแบบนี้ไม่ได้นะครับ ต้องกรอกกข้อมูลให้เป็นยอดเงินครับ เช่น บ้าน 4,200,000 บาท ทองคำ 260,000 บาท รถยนต์ 600,000 บาท
การกรอกข้อมูลทรัพย์สินประเภทนี้ก็จะมีการแยกประเภทออกเป็น 3 กลุ่มคือ
3.1 เงินสด และใกล้เคียงเงินสด
3.2 สินทรัพย์ลงทุน
3.3 ทรัพย์สินใช้ส่วนตัว
4. หนี้สินคงค้าง เช่นกันกับข้อ 3 ครับ คือกรอกข้อมูลเป็นสถานะของยอดเงินในวันกรอกข้อมูลได้เลยครับ โดยแยกประเภทเป็น
4.1 หนี้สินระยะสั้น ภายใน 1 ปี
4.2 หนี้สินระยะยาว นานกว่า 1 ปี
5. เป้าหมายทางการเงิน ซึ่งต้องประกอบด้วย เป้าหมาย ระยะเวลา ปริมาณ และความสำคัญ หากจะเอาลึกลงไปอีกก็จะใช้หลักการที่เรียกว่า SMART ไว้มาขยายความครั้งหน้านะครับ
เมื่อเตรียมข้อมูลได้ตามนี้แล้ว คุณก็เพียงใส่ข้อมูลเข้าไปใน SPIDER Plan ได้เลย หลังจากนั้นคุณก็จะได้รับผลการวิเคราะห์และการคำนวณออกมาครับ ซึ่งหากต้องการคำแนะนำเฉพาะเจาะจงท่านต้องติดต่อเป็นการส่วนตัวกับ SPIDER ของเราได้เลยครับ
ครั้งหน้า ผมจะมาขยายความตอนต่อไปครับ
T.SPIDER รายงาน
#Appวางแผนการเงินสัญชาติไทยมาตรฐานระดับโลก
#SpiderPlan
กด Like และ ติดตามเพจ เพื่อไม่พลาดการแจ้งข่าวสารและสิทธิพิเศษต่างๆ
กด Share เพื่อแบ่งปันข้อมูลดีๆให้เพื่อน
ยังไม่มีความคิดเห็น คุณเป็นคนแรกที่แสดงความเห็น